วันจันทร์ที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ชุดประจำเผ่าม้ง

ชุดประจำเผ่าม้ง บ้านแม่พร้าวลป.8



ตัวอย่าง เพลงประจำเผ่าม้ง


ประเพณีฉลองปีใหม่ม้ง บ้านแม่พร้าวลป.8

ประเพณีฉลองปีใหม่ม้ง
……………………………………………………………


ประเพณีปีใหม่  งานฉลองตามประเพณีที่สำคัญของชาวเขาเผ่าแม้วคือ พิธีฉลองปีใหม่ เรียนกันว่า น่อเป๊โจ่วฮ์(nou ped cawg)แปลตามศัพท์ได้ว่ากินสามวัน เนื่องจากชาวแม้วนับช่วงเวลาตามจันทรคติโดยเริ่มนับตั้งแต่ขึ้น 1ค่ำ  ไปจนถึง 30 ค่ำ (ซึ่งตามปฏิทินจันทรคติของไทยจะแบ่งออกเป็นข้างขึ้น 15 ค่ำ และข้างแรม15 ค่ำ) เมื่อครบ 30ค่ำจึงนับเป็น 1 เดือนดังนั้นในวันสุดท้าย (30ค่ำ) ของเดือนสุดท้าย (เดือนที่12 )ของปี จึงถือว่าเป็นวันส่งท้ายปีเก่า ช่วงวันฉลองปีใหม่ส่วนใหญ่จะตกในเดือน ธันวาคม แต่อาจจะกล่าวได้ว่าจะอยู่ในช่วงใดช่วงหนึ่งระหว่างเดือน พฤศจิกายนถึงมกราคมของแต่ละปี 

หัวหน้าครัวเรือนแม้วจะประกอบพิธีกรรมต่างๆ เพื่อความเป็น สิริมงคลของครัวเรือน  สมาชิกและทรัพย์สินของตนถัดจากวันส่งท้ายปีเก่าไปอีก 3 วัน คือวันขึ้น 1ค่ำ-2 ค่ำและ3 ค่ำ  จัดเป็นวันฉลองปีใหม่เป็นทางการและทุกคนจะต้องหยุดทำงานในระยะ3วันแรกของปีใหม่นี้เป็นทางการ หญิงชายจะนุ่งห่มด้วยเสื้อผ้าชุดใหม่  โดย  เฉพาะหนุ่มสาวจะประกวดประชันกันเต็มที่ในเรื่องของการแต่งกายแลประดับประดาด้วยเครื่องเงินแพรวพราว

พวกผู้ชายจะจับกลุ่มกันเล่นลูกข่างในขณะที่หนุ่มสาวจะจับคู่เล่นลูกช่วงโดยฝ่ายหญิงจะอยู่หนึ่งแถว  ฝ่ายชายจะอยู่ในแถวตรงกันข้าม เล่นโยนลูกช่วงกันระหว่างคู่ของตนเอง ลูกช่วงนี้หญิงสาวจะทำขึ้นโดยใช้ผ้าดำเย็บเป็นลูกบอลขนาดเท่ากำปั้นใช้เศษผ้ายัดใส่ใน  หญิงสาวจะวางเพื่อนหญิงนำนำลูกบอลผ้านั้นไปมอบให้แก่ชายหนุ่มที่ตนประสงค์จะเล่นด้วย  เมื่อชายหนุ่มรับลูกบอลผ้านั้นไว้แล้วเขาจะไปเดินหาหญิงสาวเจ้าของผ้าและจับคู่เล่นโยน ลูกช่างกัน
ในกรณีมีการท้าการพนันในการเล่นระหว่างหนุ่มสาวคู่เล่นนั้นผู้แพ้จะถูกปรับ เอาสิ่งของที่มีติดตัวเช่น ผ้าเช็ดหน้า
 แหวน กำไลข้อมือ เป็นต้น  เสียให้แก่ผู้ชนะและคู่เล่นที่มีการปรับพนันกันนี้จะ กลับมาพบกันในยามค่ำ  ร้องเพลงแก้เกี้ยวแก่กัน และเป็นการไถ่ของคืนด้วย  ดังนั้น  สิ่งของที่ใช้ปรับพนันกันนั้นจะต้องคืนให้แก่เจ้าของทั้งหมดภายหลังจากการร้องเพลงโต้ตอบกันแล้ว  การเล่น รื่นเริงในวันปีใหม่นี้อาจขยายเวลาออกไปเป็น 5-7 วัน  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคนในหมู่บ้านยังสนุกและต้องการที่จะเล่นกันต่อไป
 

ประเพณีการแต่งงานของชนเผ่าม้ง บ้านแม่พร้าวลป.8 ตำบลบ้านหวด อำเภองาว จังหวัดลำปาง

ประเพณีการแต่งงานของชนเผ่าม้ง

1. พิธีแต่งงานโดยวิธีฉุดสาวหรือพาหนี

        วิธีการแต่งงานของชาวม้ง  ที่ใช้กันอยู่มีหลายลักษณะที่เป็นที่นิยมกันมากก็คือ การฉุดชายหนุ่มที่พึงใจหญิงสาวคนใด จนปลงใจว่าจะฉุดสาวมาเป็นภรรยา จะนัดหมายกับเพื่อน2-3คน ให้เป็นผู้ ช่วย เมื่อได้โอกาสเหมาะในขณะที่ผู้หญิง อยู่ลำพังแต่ต้องเป็นนอกตัวบ้าน คณะชายผู้นั้นจะเข้าช่วยกันฉุดหญิงสาว   เพื่อจะพาไปยังบ้านตนหรือบ้านญาติ แซ่สกุลเดียวกับชายหนุ่มที่เป็นผู้ฉุด หรือถ้ามาจากต่างถิ่นมาจากต่างถิ่นก็มักจะฉุดเข้าป่า เพื่อเดินทางกลับหมู่บ้านของตน โดยทั่วไปหญิงสาวจะร้องขอความช่วยเหลือ ซึ่งมักจะเป็นมารดาหรือญาติที่เป็นหญิงจะรีบมาช่วยกันยื้อแย่งตัวหญิงสาวกลับ  

 ในส่วนนี้ญาติพี่น้องฝ่ายชายหรือแม้แต่บิดาของหญิงสาวจะไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวได้ด้วยเลย   หากคณะชายหนุ่มฉุดไม่สำเร็จ คือทำให้หญิงสาวหนีรอดกลับบ้านไปได้    การฉุดนั้นก็เป็นโมฆะแต่หากการฉุกสำเร็จ  ภายใน 3 วัน ฝ่ายชายจะจัดผู้แทนไปกับชายหนุ่มเพื่อขอขมาต่อบิดามารดาของผู้หญิง  พร้อมไปกับการตกลงค่าสินสอดและช่วงเวลาจ่ายค่าสินสอดในขั้นตนกันเลย  ผู้ชายจะต้องเป็นผู้เสียค่าตัวเจ้าสาวหรือค่าสินสอดให้แก่บิดามารดาของผู้หญิง 
2. พิธีแต่งงานโดยให้ผู้ใหญ่ไปสู่ขอ
          การแต่งงานอีกวิธีหนึ่ง  ซึ่งทำได้โดยไม่ต้องฉุดหรือพาหนี คือการแต่งโดยผู้ใหญ่เป็นเถ้าแก่ไปสู่ขอ บางครั้งอาจจะเป็นบิดาของชายหนุ่มนั้นเองและวิธีนี้มักจะนิยมใช้ในการสู่ขอสกุลที่เกี่ยวข้องกันเช่น สู่ขอลุกสาวของพี่หรือน้องสาวของพ่อ หรือสู่ขอลูกสาวของพี่หรือน้องชายของแม่ ซึ่งเรียกกันว่า การแต่งงานของลูกพี่ลูกน้องแบบขวาง (cross cousins)   การแต่งงานวิธีนี้มักจะเป็นการปลงใจร่วมกันทั้งสองฝ่าย มากกว่าวิธีแรก  ในการสู่ขอจะกำหนดวงเงินค่าสินสอด และเวลาการชำระค่าสินสอดพร้อมกันไปด้วยเลย 
3. พิธีแต่งงานโดยการหมั้นหมาย
การแต่งงานอีกวิธีหนึ่งของการแต่งงานคือ  การหมั้นหมายระหว่างกันตั้งแต่ยังเป็นเด็กเล็กๆ ซึ่งจะนิยมกันในลักษณะของการหมั้นหมายระหว่างลูกน้องแบบขวางเช่นกัน โดยบิดามารดาทั้ง 2 ฝ่ายตกลงปลงใจหมั้นหมาย  บุตรของตนแก่กันโดยฝ่ายชายจะให้สุรา  เสื้อผ้าอาภรณ์และเงินเหรียญรูปี  จำนวนไม่มากนัก ตามแต่ที่จะตกลงกันทั้งสองฝ่าย เป็นของหมั้นให้แก่ฝ่ายหญิง  อย่างไรก็ตามการหมั้นหมายนี้มิได้เป็นข้อห้าเด็ดขาดในการเปลี่ยนใจไปแต่งงานกับคนอื่น แต่ฝ่ายที่เปลี่ยนใจก่อนจะต้องเสียค่าปรับเป็นเงินค่อนข้างสูง ในปัจจุบันการแต่งงานลักษณะนี้มีไม่มากนัก



เพลง แลรักนิรันดร์กาลcover


สภาพทั่วไป หมู่บ้านแม่พร้าวลป.8



สภาพทั่วไป

     บ้านแม่พร้าวลป.8 ตั้งอยู่ในเขตอุทยานฯ การเดินทางยากลำบากโดยมีภูเขาสลับซับซ้อน   ลำห้วยจำนวน 45 ลำห้วย ปัจจุบันมีลำห้วย ๕ – ๖ ลำห้วย การคมนาคมจากหมู่บ้านไปตัวอำเภองาว ประมาณ 3๓ กิโลเมตรและจากถนนลำปาง – งาว เข้าสู่หมู่บ้านเป็นระยะทาง 8 กิโลเมตร ซึ่งทางจะเป็นหลุมเป็นบ่อและดินลูกรัง มีถนนลาดยางสำหรับทางล้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์แล่นได้   การเดินทางรถยนต์ใช้เวลาประมาณ ๑ ชั่วโมง ๓๐ นาที รถจักรยานยนต์ใช้เวลาเดินทางประมาณ ๑ ชั่วโมง


เขตติดต่อ
ทิศเหนือ     ติดต่อกับ  บ้านหวด ต.บ้านหวด อ.งาว จ.ลำปาง
ทิศใต้         ติดต่อกับ  บ้านปางหละ ต.บ้านหวด อ.งาว จ.ลำปาง
ทิศตะวันออก   ติดต่อกับ  บ้านขมุและบ้านแม่พร้าว ต.บ้านหวด
ทิศตะวันตก     ติดต่อกับ  บ้านแม่ก๋า ต.เมืองมาย อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง

การประกอบอาชีพ
ชุมชนส่วนใหญ่มีอาชีพทำไร่ข้าว  ข้าวโพด ลิ้นจี่ ขิง ข้าวก่ำ ส้ม อาชีพเสริมคือ การล่าสัตว์ รับจ้างในเมืองและปักผ้าในกลุ่มแม่บ้าน รวมถึงการหาของป่าตามฤดูกาล เช่น หาหน่อไม้หก หน่อไร่ ก๋ง ตัดไม้ไผ่ หาสมุนไพร   ฯลฯ








มารู้จักคณะกรรมการศศช.กันเถอะ


นายมีชัย  วงศ์อารีไท
ประธานกรรมการ

นายวิศักดิ์  วงศ์อารีไท
กรรมการ

นายช่า  วงศ์อารีไท
กรรมการ

นายสรพงษ์ แซ่ย่าง  
กรรมการ

  
นายศราวุฒิ  แซ่ย่าง
กรรมการ

   

                                              
                                           นางสาวขนิษฐา  พรมกัน
                                           กรรมการและเลขานุการ

About Us เเนะนำตัวเอง


1. ประวัติส่วนตัว
  ชื่อ - สกุล : นางสาวขนิษฐา    พรมกัน
  วัน/เดือน/ปีเกิด :  วันจันทร์ ที่ ๑๕ เดือนตุลาคม  พ.ศ. 2533           อายุ : 26 ปี
  สถานภาพ : โสด
  กรุ๊ปเลือด :  A
  บิดาชื่อ :    นายสมบัติ     พรมกัน     อายุ    -   ปี                       มารดาชื่อ : นางอารินทร์  สดสุภา      อายุ   ๕๗ ปี  อาชีพ : ทำนา    ภูมิลำเนาเดิม : บ้านเลขที่ 141 หมู่ที่ 1 ตำบล เสริมขวา อำเภอ เสริมงาม จังหวัลำปาง  52210                                                               มือถือ : 062 -3051324     
 E-mail : bee_3980@hotmail.com

ทำความรู้จักกับบ้านหนูกันค่ะ

ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา แม่ฟ้าหลวงบ้านแม่พร้าวลป.8 หมู่ที่ 5 ตำบลบ้านหวด อำเภองาว จังหวัดลำปาง ชุมชนเป็นชาวเขาเผ่าม้งขาว อพยพมาจากบ้านห้วยม่วง จังหวัดเชียงใหม่มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านแม่ก๋าบน อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง ในปี พ.ศ.2490 และต่อมาได้มีการอพยพมาตั้งถิ่นฐานที่บ้านแม่พร้าว ลป.8 จำนวน 3 - 4 ครัวเรือน ต่อมาก็ได้ย้ายกลับไปอยู่ที่บ้านแม่ก๋าโดยย้ายไปย้ายมา 2 – 3 ครั้งจนได้มีการมาตั้งถิ่นฐานถาวร ณ บ้านแม่พร้าวลป.8 ในปี 2505 โดยการนำของนายกั๋ว แซ่ลี โดยยึดอาชีพทำไร่จนถึงปัจจุบัน

นายกั๋ว แซ่ลี
ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภองาวในอดีต ได้ขออนุมัติจัดตั้งศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา“แม่ฟ้าหลวงบ้านแม่พร้าวลป.8 เมื่อปี พ.ศ. 2532 ดำเนินการสอนหนังสือ ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ตามหลักสูตรประถมศึกษาเพื่อชุมชนในเขตภูเขา พ.ศ.2524 และการศึกษาด้านทักษะชีวิต ด้านอาชีพและด้านพัฒนาสังคมและชุมชนจนถึงปัจจุบัน กศน.งาว เปลี่ยนมาเป็น ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภองาว ตามพระราชบัญญัติการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยโดยใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544และหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน2551โดยโอนเด็กในวัยเรียนอายุ 7 - 15 ปีให้กับโรงเรียนในระบบสังกัด สพฐ.ในเขตอำเภองาว 
         ครูประจำศูนย์ฯ จึงดำเนินการสอนผู้ไม่รู้หนังสือ นักศึกษาสายสามัญ การศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาเพื่อการพัฒนาทักษะชีวิต อาชีพและพัฒนาสังคมและชุมชน รวมถึงแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงร่วมกับภาคีเครือข่าย

แผนที่บ้านแม่พร้าวลป.8
ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา "แม่ฟ้าหลวง"บ้านแม่พร้าวลป.8